'10 ข้อต้องรู้' การเอาตัวรอดเบื้องต้นขณะเกิดเพลิงไหม้!

8 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 โดย
Administrator 2

'10 ข้อต้องรู้' การเอาตัวรอดเบื้องต้นขณะเกิดเพลิงไหม้!

          เพิ่งเกิดเหตุสะเทือนใจไปหมาดๆ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับเหตุการณ์ไฟไหม้อาคารพาณิชย์ชุมชนตรอกโพธิ์ ย่านเยาวราช จากการรายงานข่าวพบว่าเกิดความสูญเสีย โดยมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 200 คน เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต รวมถึงความเสียหายต่อตัวอาคารและทรัพย์สินโดยอาจมีมูลค่าสูงถึงหลัก 10 ล้านบาท นินนินขอแสดงความเสียใจกับทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มาในโอกาสนี้ด้วยครับ 
          นินนินขอแชร์ 10 ข้อต้องรู้ การเอาตัวรอดเบื้องต้นขณะเกิดเพลิงไหม้ เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน แม้ไม่เกิดกับตัวเรา แต่เราอาจเป็นคนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ประสบภัยครับ
ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกกันสำลักควัน
          1. อย่างแรกเลยคือเราต้อง “พยายาม” มีสติ ให้ได้ เมื่อรู้ตัวว่าไฟไหม้ หยุดทำกิจกรรมทุกชนิด รีบเอาตัวออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องพะวงข้างของเครื่องใช้ใด ๆ เพราะชีวิตของเราสำคัญที่สุด 
          2. หากอยู่ใกล้ผ้าห่ม ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน หรือผ้าที่ใช้คลุมตัวได้ ถ้ามีเวลาให้เอาชุบน้ำแล้วหยิบติดมือไปด้วยได้ รวมทั้งถุงพลาสติกขนาดใหญ่ สำหรับกันการสำลักควัน
          3. รีบเดินออกไปทางหนีไฟ หากมีควันหนาทึบมาก ให้ก้มตัวลงต่ำ คลานกับพื้นหากจำเป็น เพราะอากาศที่สามารถหายใจได้จะอยู่ราว 1 ฟุตเหนือพื้น เอาผ้าชุบน้ำมาปิดจมูก หรือใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ กวาดอากาศใส่ถุง แล้วนำมาสวมครอบศีรษะ ก็จะสามารถลดอาการสำลักควันไฟ หรือลดอาการแสบจมูกได้บ้าง
          4. ห้ามใช้ลิฟต์โดยสารเด็ดขาด เพราะลิฟต์อาจหยุดทำงานเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เราจะติดอยู่ในที่ที่อากาศมีจำกัด ที่สำคัญคือช่วยเหลือได้ยากมาก
          5. อย่าหนีเข้าห้องอื่น ที่ไม่ใช่ทางออกหรือทางหนีไฟเด็ดขาด ให้หาทางที่สามารถพาเราออกจากตึกได้เท่านั้น ไม่ควรออกทางบันไดปกติเช่นกัน เพราะบันไดมีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและ เปลวเพลิงลอยตัวขึ้นมาปกคลุม
          6. หากจำเป็นต้องสัมผัสกับสิ่งที่เป็นโลหะ เช่น กลอนประตู ควรใช้หลังมือแตะก่อน ความร้อนของไฟอาจทำให้กลอนประตูร้อนจนลวกมือได้ เพราะหลังประตูบานนั้นเพลิงกำลังโหมอยู่

มองหาทางหนีไฟ และเดินเร็วลงบันไดหนีไฟอย่างเป็นระเบียบ

          7. หนีมาที่บันไดหนีไฟได้แล้ว ให้ปิดประตูตามหลังทันที (หากไม่มีใครตามมาข้างหลัง) อย่าเปิดอ้าทิ้งไว้ จะได้กันไฟและควันอาจไหลตามออกมาที่ทางเดินหนีไฟ เดินลงบันไดหนีไฟกันอย่างเป็นระเบียบ ค่อยๆ ตามกันไป อย่าเบียด อย่าดัน ประตูบันไดหนีไฟถูกออกแบบให้มีผนังที่มีฉนวนกันไฟ โดยมากจะสามารถทนไฟไหม้ได้ราว 2 ชั่วโมง
          8. กรณีตึกสูงควรวิ่งลงบันไดหนีไฟไปชั้นล่างให้ได้ เพราะไฟจะลามจากชั้นล่างขึ้นชั้นบน หากไปชั้นล่างไม่ได้ ให้ขึ้นมาที่ชั้นดาดฟ้า แต่ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่ประตูชั้นดาดฟ้าล็อก หรือเฮลิคอปเตอร์/บันไดยาวมาช่วยเอาไว้ไม่ทันได้ และรถกระเช้าอาจจะสูงไม่ถึงชั้นดาดฟ้า
          9. ออกมานอกอาคารได้แล้ว อย่ากลับเข้าไปหยิบของ หรือช่วยเหลือใครในอาคารอีก ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ถ้าเรารู้ว่ายังใครติดอยู่ในอาคาร ให้เข้าไปช่วยเหลือโดยด่วน
          10. หากเราติดอยู่ในห้อง ให้ปิดประตูห้อง ใช้ผ้าชุบน้ำปิดขอบประตูไม่ให้ไฟและควันเข้ามาในห้อง และออกมาขอความช่วยเหลือที่ระเบียง หรือหน้าต่าง โบกผ้าหรือสิ่งของใหญ่ๆ ที่มีสีเด่นชัด เป่านกหวีด เปิดไฟฉาย ให้เจ้าหน้าที่มองเห็น หากโทรศัพท์ยังใช้ได้ให้รีบโทรหาเจ้าหน้าที่ ไม่ควรกระโดดลงมาโดยที่ไม่มีอุปกรณ์จากเจ้าหน้าที่รองรับร่างกายอยู่ด้านล่าง เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตจากการตกจากที่สูง

ประกันภัยบ้าน

          และ บจก. ทีที อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ (ไทยแลนด์) ในฐานะบริษัทนายหน้าประกันภัยที่ดูแลเรื่องบริการด้านการป้องกันและรองรับความเสี่ยงภัย ขอเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยที่คุ้มครองอัคคีภัย หรือเหตุไฟไหม้ เผื่ออาจจะเป็นแนวทางให้กับท่านที่มองหาประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงดังกล่าวนะครับ ซึ่งประกันอัคคีภัยที่อยู่ในแพ็คเกจประกันที่พักอาศัย หรือประกันบ้านที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปนั้นมีความคุ้มครองครอบคลุมหลายภัยด้วยกัน โดยมีพื้นฐานเรื่องหลักๆ ได้แก่
          หมวดที่ 1 อัคคีภัย : คุ้มครองเรื่องไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยจากระเบิด, ภัยจากการเฉี่ยว-ชนจากยวดยานพาหนะ (เช่นเกิดเหตุรถพุ่งชนบ้าน ดูไกลตัว แต่มีข่าวออกมาให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ ที่มีรถเสียหลักหรือมีอุบัติเหตุควบคุมไม่ได้ พุ่งเข้าชนบ้าน), ภัยอากาศยาน, ภัยจากควัน, ภัยเนื่องจากน้ำ ไม่รวมน้ำท่วม (ส่วนนี้หมายถึงกรณีที่ฝนตกสาด, น้ำรั่วทั้งจากธรรมชาติ หรือจากอุบัติเหตุ ลองนึกภาพตามว่าเราเองก็อาจเสียเงินซ่อมฝ้า-พื้นไม้ปาร์เก้สวยๆ ได้ หากน้ำรั่ว) 
และยังมีคุ้มครองภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดหรือคลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ หรือภัยจากลูกเห็บ รวมไปถึงความคุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราวเมื่อได้รับภัยที่เกิดขึ้นในหมวดที่ 1 นี้ ซึ่งถือว่าเป็นความคุ้มครองที่นึกถึงผู้ประสบภัยมากๆ หากบ้านเสียหายหรือไม่สามารถเข้าอยู่ได้ ที่พักพิงชั่วคราวก็มีค่าใช้จ่ายและเป็นเรื่องที่น่ากังวลไม่น้อยเลย

          หมวดที่ 2 โจรกรรม : คุ้มครองจากเหตุลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ที่ปรากฎร่องรอยงัดแงะ โดยให้ความคุ้มครองแก่ความสูญสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เก็บอยู่ภายในอาคารสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงความเสียหายต่ออาคาร สิ่งปลูกสร้าง ประตู-หน้าต่าง ซึ่งเก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัย และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอุปกรณ์ล็อคและกุญแจ ใครที่เป็นห่วงข้าวของเครื่องใช้ หรือต้องทิ้งบ้านเอาไว้นานๆ แล้วละก็ หากมีประกันส่วนนี้ไว้ก็ช่วยให้อุ่นใจได้มากขึ้นนะครับ

          หมวดที่ 3 กระจก : คุ้มครองการแตกเสียหายของกระจกที่ติดตั้งตรึงตราเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร-สิ่งปลูกสร้าง (ยกเว้นกระจกเงา กระจกตู้โชว์-ชั้นวางของ) ยกตัวอย่างอีกหนึ่งเหตุการณ์ช่วงปีที่แล้ว ที่เกิดเหตุโรงงานโฟมระเบิดทำให้หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบ โดยแรงระเบิดทำให้บ้าน-อาคารกระจกแตก หรือฝ้าถล่มลงมา ใส่ส่วนของกระจกบ้านหากทำประกันเอาไว้ก็ได้รับความคุ้มครองส่วนนี้ครับ

          หมวดที่ 4 ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก : เป็นส่วนความรับผิดตามกฎหมาย กรณีการเสียชีวิต บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ที่เกิดขึ้นภายในสถานที่หรือบ้านที่ทำประกันภัย 

          หมวดที่ 5 อุบัติเหตุส่วนบุคคล (อบ.2) : คุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟัง การพูดออกเสียงหรือทุพพลภาพถาวร 

          ข้อที่ 4 และ 5 นั้นเป็นความสูญเสียต่อบุคคลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอนทั้งเจ้าบ้านหรือแขกผู้มาเยือน แต่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่คับขันก็ยากต่อการควบคุมสถานการณ์และเรื่องความปลอดภัย 

          การเริ่มทำประกันบ้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงนั้น มีทั้งแพ็คเกจมาตรฐานให้พิจารณาได้เบื้องต้นและการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมกับมูลค่าของทรัพย์สิน ซึ่งเจ้าของบ้านหรือผู้ที่สนใจทำประกันสามารถศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่เพื่อให้แนะนำความคุ้มครองและเงื่อนไขที่อยู่ภายใต้กรมธรรม์

ประกันภัยบ้าน กรณีเกิดเพลิงไหม้

          ทั้งนี้ การประเมินทุนประกันขึ้นอยู่กับเรื่องพื้นที่ของตัวบ้าน-อาคาร, วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง, อายุของสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงพื้นที่หรือบริเวณของที่อยู่อาศัย ฯลฯ ประกันที่พักอาศัยนั้นเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระต่อปีเริ่มต้นเพียงหลักพันเท่านั้น แต่ให้ความคุ้มครองหลักแสน-ล้านบาทเพื่อดูแลบ้านที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของเรา หากใครที่กำลังมองหาประกันบ้านแล้วละก็ ลองพิจารณาดูก็ไม่เสียหาย 

          รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องความคุ้มครองหรือเงื่อนไขการทำประกันภัยแบบครบวงจร สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ช่องทางการติดต่อ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official : @TTIB, www.ttib.co.th หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น. เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเบื้องต้นให้ครับ

#ไฟไหม้ล่าสุด #TTIBประกันดีต่อใจ #บริการว่องไวใส่ใจคุณ #ประกันบ้าน #ไฟไหม้ตรอกโพธิ์ #เพลิงไหม้เยาวราช #ประกันอัคคีภัย

ที่มาข้อมูล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

แชร์โพสต์นี้


Added to cart