นินนินให้! คำศัพท์ญี่ปุ่นหมวดร้านอาหาร ใช้งานได้จริง

25 มกราคม ค.ศ. 2024 โดย
Administrator 2

นิน​นินให้! คำศัพท์ญี่ปุ่นหมวดร้านอาหาร ใช้​งานได้จริง

​          ไปญี่ปุ่นครั้งนี้ นินนินให้! คำศัพท์ญี่ปุ่นหมวดร้านอาหาร แบบกระชับ เน้นใช้งานจริงไปเลย บอกเลยว่านี่เป็นการเตรียมตัวไปปุ่นเวอร์ชั่นนักท่องเที่ยวที่คุณไม่ผิดหวัง เพราะว่าการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญจริง ๆ แม้บางที่จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่บางแห่งเช่นร้านท้องถิ่น ก็อาจจะต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นภาษาญี่ปุ่นนะ นินนินจึงขอหยิบยกบทสนทนาเผื่อใช้งานแบบง่าย ๆ ลูกผสม อังกฤษ-ญี่ปุ่น ให้กางออกมาสื่อสารได้ทันที เพราะเราต่างรู้กันดีว่าเรื่องกินเรื่องใหญ่ สั่งข้าวได้ข้าว สั่งน้ำได้น้ำ อิ่มหนำตลอดทั้งทริปญี่ปุ่น ก่อนเดินทางอย่าลืมเตรียมประกันเดินทางด้วยนะ ดูความคุ้มครองและซื้อออนไลน์ กันนะคร้าบ 

บทความที่เกี่ยวข้อง 

ซื้อประกันเดินทางกับ ttib รับฟรี MuWall


1. เปิดประตู้ร้านไปถามว่า “รับลูกค้าชาวต่างชาติไหม – ไกจินโนะ โอะ เคียขุ โอเค เดสก๊ะ?”
​          เพราะร้านญี่ปุ่นบางร้านมีนโยบายไม่รับแขกชาวต่างชาติ อาจจะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ เราอาจจะถามทางร้านด้วยคำง่าย ๆ คู่กับภาษากายว่า 

​          “ขอโทษครับ – สึมิมาเซ็น (sumimasen)” 
​          “รับลูกค้าชาวต่างชาติไหม – ไกจินโนะ โอะเคียขุ โอเค เดสก๊ะ? (gaijin no okyaku OK desu ka)”
​         ซึ่งร้านอาจจะตอบมาด้วยการทำมือ OK เพื่อเป็นการตอบรับ หรือทำมือไขว้กันเป็นตัว X เพื่อบอกว่า ไม่รับชาวต่างชาติ ก็อาจเจอได้ทั้ง 2 แบบ

นินนินแจกประโยคใช้ในร้านอาหาร


2. เมื่อพนักงานรับเข้าร้านแล้ว บอกจำนวนคนของโต๊ะเรา “xx คน – xx นิน เดส”
​          พนักงานมีแนวโน้มว่าจะหันมาถามว่าเรามากันกี่คน ด้วยคำถามว่า “นัน เมย์ ซามะ เดสก๊ะ? (nan mei sama desu ka)” ณ จุดนี้ ทักษะการนับแลขต้องมา อันนี้จำยากแค่ 1 คน กับ 2 คน เพราะศัพท์เฉพาะไม่เหมือนคนอื่น แต่พอ 3 คนเป็นต้นไปก็ง่ายแล้ว เพราะเป็นการนับเลขธรรมดา อันนี้ขอยกมาแค่จำนวน 10 คนพอเป็นไกด์ให้ได้พูดกัน หรือหากไม่ได้จริง ๆ ชูนิ้วมือบอกจำนวนเพื่อสื่อสารแทนก็ได้คร้าบ
​          1 คน – ฮิโตะริ เดส (hitori desu)
​          2 คน – ฟุตาริ เดส (futari desu)
​          3 คน – ซัง นิน เดส (san-nin desu)
​          4 คน – ยง นิน เดส (yon-nin desu)
​          5 คน – โกะ นิน เดส (go-nin desu)
​          6 คน – โระขุ นิน เดส (roku-nin desu)
​          7 คน – นานะ นิน เดส (nana-nin desu)
​          8 คน – ฮะจิ นิน เดส (hachi-nin desu)
​          9 คน – คิ่ว นิน เดส (kyuu-nin desu)
​          10 คน – จู้ นิน เดส (jyuu-nin desu)

นินนินแจกประโยคขอเมนูเป็นภาษาญี่ปุ่น

3. ได้เวลาขอเมนู อู้หูว! ภาษาญี่ปุ่นละลานตาจนอยากขอเมนูภาษาอังกฤษ
​          เผื่อพนักงานคิดว่าเราสปี๊กเจแปนิสได้อย่างเก่งกาจ จนหยิบเอาเมนูญี่ปุ่นล้วนมาให้ เราก็หงายการ์ดชาวต่างชาติไปเลยว่า “ขอเมนูภาษาอังกฤษหน่อยจ้า” เพราะโจทย์ของเรา ๆ คือ อยากกินต้องได้กิน อย่าให้กำแพงภาษามาเป็นอุปสรรคเด็ดขาด
​          “ขอเมนูภาษาอังกฤษ – เอโกะ โนะ เมนู กุดะซัย (eigono menyu kudasai)” หรือ
​          “มีเมนูภาษาอังกฤษไหม – เอโกะ โนะ เมนู อะริมัส ก๊ะ (eigono menyu arimaska)”“ขอเมนูภาษาอังกฤษ – เอโกะ โนะ เมนู กุดะซัย (eigono menyu kudasai)” หรือ
​          “มีเมนูภาษาอังกฤษไหม – เอโกะ โนะ เมนู อะริมัส ก๊ะ (eigono menyu arimaska)”
​          
​          แต่ถ้าเกรงว่าจะเป็นอุปสรรคเข้าจริง ๆ เล็งร้านที่ใช่ แคปภาพที่ชอบไปจากบ้านเลย ไปปุ๊บกางภาพแล้วชี้ ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป > < คีย์ลัดฉบับนักท่องเที่ยวสายชิล

นินนินแจกวิธีขอเครื่องดื่มเป็นภาษาญี่ปุ่น

4. สั่งเครื่องดื่มให้ถูกทั้งร้อนและเย็น 
​          ระหว่างทางเราอาจจะพูดภาษาอังกฤษกับพนักงานไป แต่ถ้าเรามีศัพท์ญี่ปุ่นติดไว้ ก็อาจจะช่วยร่นระยะเวลาการสื่อสารไปได้ไม่มากก็น้อย พนักงานอาจจะเริ่มต้นด้วยการถามเกี่ยวกับออเดอร์เครื่องดื่มก่อน (o nomimono โอะ โนมิโมโนะ / เครื่องดื่มต่าง ๆ) ก็สามารถออเดอร์เมนูเครื่องดื่มพื้นฐานได้ง่าย ๆ ตามนี้เลย หรือบางทีสั่งไปแล้ว อยากขอเติมหรือตามอาหารท่องไว้ได้ใช้แน่นอน
​          “ขอน้ำดื่มเย็น – โอะ ฮิยะ กุดาซัย (O hiya kudasai)”
​          “ขอน้ำร้อน – โอะ ยุ กุดาซัย (O yu kudasai)”
​          “ขอเบียร์ – บีรุ กุดาซัย (Biiru kudasai)”
​          “ขอชา – โอจะ กุดาซัย (O-cha kudasai)”

อันนี้อาจจะทำให้สับสน เพราะไม่ได้บอกว่าชาแบบร้อนหรือเย็น ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นชาร้อน
​          “ขอกาแฟร้อน/เย็น – ไอสึ/ฮอตโตะ โคฮี กุดาซัย (Aisu/Hotto kohii kudasai)”
​          “ขอโคล่า – โคล่า กุดาซัย (Kolaa kudasai)”
​          “ขอน้ำแข็ง – โค่หริ กุดาซัย (Koori kudasai)”
นินนินแจกวิธีสั่งอาหารในภาษาญี่ปุ่น
5. สั่งอาหารแบบมือโปร ไม่มีโป๊ะ
          ในส่วนของการสั่งอาหาร ร้านที่รับชาวต่างชาติ เมนูมักจะมีภาษาอังกฤษและมีภาพประกอบให้อยู่แล้ว เราอาจจะจำไว้บางคำสำหรับสอบถามเพิ่มเติม เผื่อกรณีการสื่อสารไม่ราบรื่น เช่น

          “เผ็ดไหม – คะไร่ เดส ก๊ะ? (Karai desu ka)”
          “มีเมนูของเด็กไหม – โคโดโมะ โนะ เมนู อะริมัสก๊ะ? (Kodomo no menu arimasu ka)”
          “ขอเพิ่ม – โอะ คาวาริ กุดาซัย (O kawari kudasai)” กรณีบางร้านให้เติมอาหารบางอย่างได้ เช่น ข้าวสวย (โกะฮัง) ซุปมิโสะ (มิโสะชิหรุ) กะหล่ำปลี (เคียบเบ็จจิ) 
          “อันนี้ (ชี้ที่รูป) มีแบบเป็นเนื้อหมู/เนื้อปลา/เนื้อไก่ ไหม – โคเระ วะ บุตะนิขุ/ซากะนะ/โทะรินิขุ เด๊ะ อะริมัสก๊ะ? (Kore wa Buta-niku/Sakana/Tori-niku de arimasu ka)”
          “มีแบบเป็นอาหารชุดไหม – เทโฉะขุ เซ็ตโตะ อะริมัสก๊ะ (Teishoku setto arimasu ka)”
          “พอแล้ว – เคกโค เดส (Kekkou desu)”
          “อิ่มแล้ว – โม่ อิปปัย เดส (Mou ippai desu)”


นินนินแจกประโยคไว้ใช้ในร้านอาหาร


6. รับประทานอาหารแบบรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น
          คนญี่ปุ่นจะมีการขอบคุณก่อนและหลังรับประทานอาหารเสมอครับ หากเรามีโอกาสไปเยือนญี่ปุ่นสามารถปฏิบัติตามแบบคนญี่ปุ่นได้เหมือนกันนะ เป็นประโยคง่าย ๆ ที่เชื่อว่ามีติดหูกันมาจากหนังหรือการ์ตูนกันบ้างแน่ ๆ
          “จะทานแล้วนะคะ/นะครับ (ก่อนรับประทาน) – อิตาตะกิมัส (Itadakimasu)”
          “ขอบคุณสำหรับอาหารมื้อนี้ (หลังรับประทานอาหาร) – โกะจิโซ ซามะ เดชิตะ (Gochisou sama deshita)”

7. อิ่มแล้ว ก็ได้เวลาเรียกเก็บเงิน
          ยกมือแล้วเรียกพนักงานเพื่อให้มาคิดเงินหลังจากรับประทานเสร็จก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป มีประโยคสำคัญ 2 ประโยคนี้ครับ

          “ขอโทษครับ คิดเงินด้วย – โอะไคเคอิ กุดะซัย สึมิมาเซ็น (O kaikei kudasai sumimasen)”
          “ขอใบเสร็จรับเงิน – เรียวชูโฉะ กุดะซัย(Ryoushusho kudasai)”

8. อยากชมว่าอาหารอร่อย และขอบคุณพนักงาน (ที่ดูแลเรา) ก่อนออกจาก​ร้าน
          ที่ญี่ปุ่นมีความน่ารักในการไปรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็นที่บ้านคนอื่น หรือว่าร้านอาหาร เป็นธรรมเนียมขอบคุณของคนญี่ปุ่นในมุมของผู้รับ มีนัยยะว่าเรากินอาหารอย่างเอร็ดอร่อยเต็มที่ โดยมีผู้อื่นเป็นผู้จัดเตรียมอาหารให้กับเรา ก่อนออกจากร้านเราก็สามารถชื่นชมอาหารหรือบริการของทางร้านได้ ด้วยประโยคเหล่านี้
          “ขอบคุณที่เลี้ยงอาหาร – โกะจิโซ ซามะ เดชิตะ (Gochisou sama deshita)”
          “อาหารอร่อยมาก – โตะเทะโมะ โออิชิคัตตะ เดส (Totemo oishikatta desu)”
          “ขอบคุณ – อะริงะโต โกะซัยมะชิตะ (Arigatou gozaimashita)”
          “เป็นการบริการที่ดีมาก – โตะเทะโมะ อี้ ซะบิสึ เดชิตะ (Totemo ii saabisu deshita)” 
          “คราวหน้าจะมาอีก – ค่นโดะ มะตะ คิมัส (Kondo mata kimasu)”


นินนินแจกประโยคภาษาญี่ปุ่นใช้ในร้านอาหาร

          เย้ จบไปแล้วครับกับคำศัพท์ญี่ปุ่นหมวดไปรับประทานอาหารให้มื้อนี้เป็นทั้งการอิ่มท้องและมีความสุข (เพราะว่าออเดอร์ได้เป๊ะตรงใจ) นอกจากนึกถึงการท่องเที่ยวญี่ปุ่นแล้ว หากนึกถึงประกันภัยคุณภาพนึกถึง TT Insurance Broker โบรกเกอร์ประกันภัยสัญชาติญี่ปุ่น ที่เปิดให้บริการชาวไทย ทั้งประกันรถยนต์ ประกันเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยสำหรับธุรกิจ ฯลฯ แบบจัดเต็ม เพราะรวบรวมผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากบริษัทชั้นนำ และบริการด้วยความจริงใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัย ทำความรู้จักเรา หรือติดต่อสอบถามด้านประกันภัยได้ที่ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official: @TTIB, www.ttib.co.th หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น.

แชร์โพสต์นี้

To install this Web App in your iPhone/iPad press and then Add to Home Screen.

Added to cart