เตือนพฤติกรรมเสี่ยง ‘โรคฝีดาษลิง’ ไม่มีเซ็กส์ก็ติดได้

8 กันยายน ค.ศ. 2023 โดย
Administrator 2

เตือนพฤติกรรมเสี่ยง ‘โรคฝีดาษลิง’
ไม่มีเซ็กส์ก็ติดได้

สุขภาพดีมีบอก วันนี้ทาง TTIB หยิบยกประเด็น ‘โรคฝีดาษลิง’ ที่กำลังเป็นที่จับตาเนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อภายในประเทศเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสร้างความกังวลว่าจะเป็นโรคที่แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วยรวม 316 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง แล้วจริง ๆ โรคนี้มีความน่ากังวลแค่ไหน หากไม่ใช่ผู้มีเพศสัมพันธ์เสี่ยงหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ จะปลอดภัยจริงหรือ เพราะว่าโรคฝีดาษลิงนั้นแม้ไม่มีเพศสัมพันธ์ก็อาจกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง หรือติดเชื้อได้เช่นกัน ไปดูกันว่าพฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงต่อโรค และการดูแลป้องกันตัวเองเพื่อให้ห่างไกลต่อการแพร่ระบาด

เพราะว่าการรายงานข่าวมักพ่วงประเด็นโรคฝีดาษลิงเข้ากับการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้อาจละเลยการดูแลด้านอื่น ๆ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน โดยการติดโรคฝีดาษลิง มี 2 กรณีด้วยกัน คือ การติดต่อจากสัตว์สู่คน และการติดต่อจากคนสู่คน 

1. การติดต่อจากสัตว์สู่คน (ที่ไม่ใช่แค่ลิง ตามชื่อของโรค!) โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อได้จากการถูกสัตว์ประเภทกัดแทะทุกชนิด อาทิ หนู กระต่าย โดยติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง ตุ่มหรือผื่น บาดแผล น้ำหนอง หรือการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อและปรุงไม่สุก ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน

2. การติดต่อจากคนสู่คน นอกเหนือจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อแล้ว ยังสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ อาทิ ผื่น ตุ้ม น้ำหนอง การไอ จาม สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อของผู้ป่วย การใช้ของส่วนตัวร่วมกัน 

เพราะฉะนั้นพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระวังก็จะสัมพันธ์กันกับลักษณะการติดต่อข้างต้น ได้แก่

- การสัมผัสกับสัตว์ป่วย 
- การกินเนื้อสัตว์ หรืออาหารไม่ปรุงสุก
- การมีเพศสัมพันธ์เสี่ยง (มีหลายคู่นอน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ) หรือกับผู้ป่วย
- การใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (หรือผู้ติดเชื้อ) เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน

แล้วหากพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต้องทำอย่างไรบ้างนะ 
1. แยกตนเองออกจากผู้อื่น สวมใส่หน้ากากอนามัย เลี่ยงการสัมผัส หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

2. สังเกตอาการ โดยโรคจะมีระยะฟักตัว 5-20 วัน และจะแสดงอาการประมาณ 3 สัปดาห์ โดยมีอาการแรกเริ่มคือ มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อย ปวดหลัง กล้ามเนื้อ กระบอกตา อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียนร่วมด้วย
และหลังจากนั้น 4-5 วันจะมีอาการที่บ่งชี้อย่างชัดเจน บริเวณผิวหนังจะมีผื่นแดง หรือปื้นนูนแดง และจากนั้นจะมีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง ทั่วร่างกาย ซึ่งความรุนแรงของอาการป่วยจะขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ

3. โรคฝีดาษลิงสามารถรักษาตามอาการและหายได้เอง อาจมีเรื่องที่ต้องระวัง เช่น การแกะตุ่มหรือผื่น ให้เลี่ยงการแกะเพื่อไม่ทิ้งรอยบริเวณผิวหนัง แต่หากเดิมมีโรคประจำตัว มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ หรือมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์และรับการรักษาอย่างใกล้ชิด เพราะว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงถึงชีวิตได้ มีรายงานว่าประเทศไทยได้รับการสนับสนุนยาจากองค์การอนามัยโลกเพื่อนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินได้

อย่าลืมรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงและมีการแพร่ของโรค หากร่างกายแข็งแรงก็เป็นเหมือนเกราะป้องกันการรับเชื้อในด่านแรกครับ ติดตามบทความและกิจกรรมดี ๆ ของ TTIB หรือปรึกษาด้านประกันภัย ทั้ง ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันการเดินทาง และอื่น ๆ ได้ที่ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official @TTIB หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น.

ที่มา :
https://www.bangkokhospital.com/content/questions-about-monkeypox
https://www.thairath.co.th/news/local/2722352#aWQ9NjIxYzNlMzA3NmExMDgwMDEyZjZkZjI5JnBvcz0wJnJ1bGU9MA


แชร์โพสต์นี้

To install this Web App in your iPhone/iPad press and then Add to Home Screen.

Added to cart