รู้ไว้เผื่อใช้ฉุกเฉิน! วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นบาดแผลไฟไหม้จากสารเคมี บาดแผลฉีกขาด สูญเสียอวัยวะ

1 มีนาคม ค.ศ. 2024 โดย
Administrator 2

รู้ไว้เผื่อใช้ฉุกเฉิน! วิธีปฐมพย​าบาลเบื้องต้นบาดแผลไฟไหม้จากสารเคมี บาดแผลฉีกขาด สูญเสียอวัยวะ

          ก่อนอื่นนินนินขอแสดงความเสียใจแก่ครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง ต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์โรงงานพลุระเบิด จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านก้าวผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้อย่างเข้มแข็งนะครับ
          เพราะอุบัติเหตุเป็นเหตุไม่คาดฝัน การเตรียมตัวพร้อมรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนที่จะถึงมือผู้เชี่ยวชาญ ทักษะเหล่านี้เป็นทักษะจำเป็นที่เราต้องรู้ไว้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นการปฐมพยาบาลแบบ CPR เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยกรณีหมดสติ หัวใจหยุดเต้น การปฐมพยาบาลผู้ป่วยหมดสติจากการจมน้ำ หรือ สำลักควันไฟ เป็นต้น ครั้งนี้ นินนินเลยจะขอพาทุกท่านไปเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น บาดแผลไฟไหม้จากสารเคมีและบาดเจ็บสูญเสียอวัยวะ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลกันครับ
ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น
          การปฐมพยาบาลเบื้องต้น บาดแผลไฟไม้จากสารเคมี เนื่องจากการสัมผัสสารเคมีโดยตรงนั้นอันตรายมาก สิ่งสำคัญที่เราต้องมีก่อนเลยคือ สติ เพื่อที่จะได้ประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ และทำการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว โดยที่ตัวผู้ให้ความช่วยเหลือเองก็ปลอดภัยด้วย
          - ใส่ถุงมือหรือเครื่องป้องกัน ก่อนเข้าไปให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
          - ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออกให้หมด
          - ใช้น้ำสะอาดชำระล้างให้สารเคมีเจือจางมากที่สุด โดยอาจใช้วิธีการตักราดให้น้ำไหลผ่านบาดแผล หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่านนานประมาณ 10 นาที หรือนานจนแน่ใจว่าล้างออกหมด 
          - รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล
ตั้งสติก่อน! ถ้าสารเคมีเป็นผง ให้ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่เปื้อนออกให้หมด โดยพยายามไม่ให้ฟุ้งกระจาย เพราะถ้าใช้น้ำล้างทันที สารเคมีที่เปนผงจะละลายน้ำ อาจออกฤทธิ์เพิ่มและทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้น
ปฐมพยาบาลแผลเปิด
          ลักษณะของบาดแผลฉีกขาด แบบแผลเปิด เช่น ถูกของมีคมบาดหรือเฉือน ทิ่มหรือแทงเข้าผิวนัง ลักษณะปากแผลอาจเรียบหรือขรุขระ เสียเลือดมาก และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย การปฐมพยาบาลบาดแผลเปิด ทำได้ดังนี้ครับ
          - หากไม่มีวัตถุหักคาแผล ให้ใช้น้ำสะอาดล้างแผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ และใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซปิดปากแผลเพื่อห้ามเลือด โดยการกดและยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูง จากนั้นนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำแผลตามขั้นตอนที่เหมาะสมต่อไป (เช่น อาจมีการเย็บหรือดามแผล ขึ้นอยู่กับความรุนแรง)
          - หากมีวัตถุหักคาแผล ห้ามดึงวัตถุที่หักคาออกจากบาดแผล เพราะจะทำให้บาดแผลรุนแรงมากขึ้น ให้พยายามยึดวัตถุที่หักคาให้อยู่นิ่ง ล้างแผลให้สะอาด และห้ามเลือด ก่อนนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเพื่อนำวัตถุที่หักคาแผลออกอย่างถูกวิธี
          - หากมีแผลแบบอวัยวะถูกตัดขาด ห้ามแช่อวัยวะที่ถูกตัดขาดลงไปในน้ำแข็งโดยตรงเด็ดขาด เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อเสียหายและอวัยวะติดเชื้อ ส่งผลให้การรักษาลำบากขึ้น หากมีน้ำให้ทำความสะอาดชิ้นวัยวะก่อน โดยไม่ฟอกหรือขัดถู แล้วเก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกสะอาด รัดปากถุงที่ใส่อวัยวะส่วนที่ขาดให้แน่น ไม่ให้น้ำและอากาศเข้าไปได้ นำถุงไปแช่ในภาชนะที่มีน้ำผสมน้ำแข็ง (อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 4 องศาเซลเซียส) จากนั้นรีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมในการเร่งนำส่งชิ้นส่วน คือ
             - อวัยวะส่วน แขน ขา นำส่งไม่เกิน 6 ชั่วโมง
             - อวัยวะส่วน นิ้ว นำส่งไม่เกิน 12-18 ชั่วโมง
             - อวัยวะส่วน มือ นำส่งไม่เกิน 12 ชั่วโมง
เช็คให้ดี! ถ้าไม่ได้เก็บชิ้นส่วนตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง หรือเป็นชิ้นส่วนอื่น ๆ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ดีที่สุดคือภายใน 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อให้เนื้อเยื่อยังมีสภาพสมบูรณ์มากที่สุด
          นินนินขอให้ผู้อ่านทุกท่านปลอดภัย ไม่ตกอยู่ในเหตุการณ์ที่จะเกิดการบาดเจ็บที่อวัยวะใด ๆ ครับผม และหวังว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์ให้ทุกท่าน หากพบเจอเหตุฉุกเฉินและอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่นนะครับ
ประกันภัยอุบัติเหตุ เบี้ย 159 ต่อปี        
           ‘ประกันอุบัติเหตุ 159’ จ่ายสบาย ๆ ด้วยเบี้ยเพียง 159 บาทต่อปี ให้ความคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทจากอุบัติเหตุทั่วไป โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องอาชีพ

          หากต้องการวางแผนรองรับความเสี่ยงด้วยประกันภัย ทั้งประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ ประกันเดินทาง หรือประกันรถยนต์ก็มีครบจบที่ TT Insurance Broker รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องความคุ้มครองหรือเงื่อนไขการทำประกันภัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official @TTIB หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น.

ที่มา : 
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- หมอชาวบ้าน

แชร์โพสต์นี้


Added to cart