Deductible และ Excess คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?

17 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 โดย

ศัพท์ประกันเจอบ่อย Deductible และ Excess คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจจะไม่ทราบหรือสับสนระหว่าง ค่าดีดัก (Deductible) และ ค่าเอ็กเซส (Excess) ทำไมเวลาเคลมบางคนต้องจ่ายค่าดีดัก (Deductible) แต่บางคนไม่ต้องจ่าย? น้องนินนินขออาสาให้ความรู้และให้ความกระจ่างกับทุกคน ไปหาคำตอบกันเลย!!

ทั้งสองค่านี้จัดอยู่ในกลุ่ม "ค่าเสียหายส่วนแรก" ซึ่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้ให้ทุกบริษัทประกันภัยได้ใช้ในการดำเนินการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อป้องกันการแจ้งเคลมที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง แต่หวังซ่อมรถโดยใช้เงินประกันภัย


deductible กับ excess ต่างกันยังไง
Deductible
หรือที่นิยมเรียกว่า ค่าดีดัก คือ ค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันต้องรับภาระจ่ายทุกครั้งที่มีการเคลมแบบมีคู่กรณี และคุณเป็น “ฝ่ายผิด” ตามข้อตกลงกับบริษัทประกันซึ่งจะปรากฏในหน้าตารางกรมธรรม์ อาจจะมีหรืออาจจะไม่มีก็ได้
ตัวอย่าง ทำประกันที่มีค่าดีดัก จำนวน 1,000 บาท เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด ค่าความเสียหาย 5,000 บาท คุณจะต้องจ่ายค่าดีดัก ทั้งหมด 1,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 4,000 บาท จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของบริษัทประกัน

ข้อดีของ Deductible คือ ช่วยให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถูกลง ซึ่งทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่เหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการขับรถและขับรถด้วยความระมัดระวัง

Excess
ค่าเอ็กเซส คือ ค่าเสียหายส่วนแรกที่เรียกเก็บในกรณีที่คุณเคลมจากอุบัติเหตุการชนแต่ไม่มีคู่กรณีหรือหาคู่กรณีไม่ได้ อุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการชน คว่ำ โดยบริษัทประกันเรียกเก็บเริ่มต้นที่ 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำไว้

ค่าเสียหายส่วนแรก คือ


สรุปความแตกต่าง 
1. ค่าดีดัก (Deductible) จะต้องจ่ายเมื่อการเคลมแบบมีคู่กรณี และคุณเป็น “ฝ่ายผิด” และค่าดีดักทำให้คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันถูกลง
2. ค่าเอ็กเซส (Excess) จะต้องจ่ายเมื่อการเคลมแบบไม่มีคู่กรณีหรือหาคู่กรณีไม่ได้ และเป็นอุบัติเหตุที่ไม่ใช่การชน คว่ำ

บางครั้งการโฆษณาประกันรถยนต์ของบริษัทประกันหรือนายหน้าประกันที่มีค่าเบี้ยถูกมากอาจเป็นเหตุมาจากมีค่าดีดัก หรือ ค่าเอ็กเซส จึงทำให้เป็นข้อเสียเปรียบในกรณีที่ท่านไม่ยินยอมที่จะจ่าย น้องนินนินแนะนำให้เพื่อน ๆ สอบถามข้อมูลให้แน่ชัดทุกครั้งก่อนการทำประกัน เพื่อผลประโยชน์ต่อตัวท่านเองครับ
สนใจประกันรถยนต์ที่มีความคุ้มครองชัดเจน จริงใจ และรวดเร็ว เลือก TTIB ได้เลยครับ เช็คค่าเบี้ยประกัน คลิก
แชร์โพสต์นี้

To install this Web App in your iPhone/iPad press and then Add to Home Screen.

Added to cart