สิ่งก่อสร้างตกใส่! ประกันรถยนต์คุ้มครองหรือไม่?
17 กรกฎาคม ค.ศ. 2023
โดย
/
1. ตั้งสติ : เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ตรวจสอบในทันทีว่าผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บเช็คอาการเบื้องต้นว่าสามารถขยับร่างกายได้หรือไม่ หากเคลื่อนไหวได้ควรเคลื่อนย้ายไปอยู่บริเวณที่ปลอดภัย เพราะเป็นไปได้ว่าอาจมีการร่วงหล่นเพิ่มเติม หรือตัวรถที่ได้รับความเสียหายอาจเกิดการรั่วไหลของเชื้อเพลิง เกิดประกายไฟ เกิดการระเบิดได้ แต่หากบาดเจ็บหนัก หรือไม่สามารถเคลื่อนได้ด้วยตนเอง โทรแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาล เช่น หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554, ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555, ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
3. โทรแจ้งบริษัทประกันภัย : ควรพกข้อมูลเกี่ยวกับประกันภัย หรือ พ.ร.บ. ติดรถหรือไว้ที่ลิ้นชักรถ เพื่อสะดวกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และสามารถโทรแจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทันท่วงที โดยโทรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้นว่าอยู่ในความคุ้มครองตามเงื่อนไขประกันภัยหรือไม่ หากอยู่ในเงื่อนไข เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบความเสียหาย ณ ที่เกิดเหตุ และจัดทำเอกสารด้านการประกันภัยให้แก่ท่าน รวมถึงการมีส่วนประสานงานระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานที่ดูแล และตัวบริษัทประกันภัยเอง เพื่อเยียวยาผู้ประสบภัยครับ เช่น ในกรณีคานสะพานลอยกลับรถถล่ม ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวง ผู้ประสบภัยก็พึงได้รับการดูแลจากกรมฯ ด้วย
ส่วนประเด็น ‘ประกันรถยนต์คุ้มครองหรือไม่?’ สำหรับประกันรถยนต์ชั้น 1 มีการคุ้มครองกรณีนี้ครับ ด้านความเสียหายต่อตัวรถ หากบริษัทประกันมีการประเมินว่ารถมีความเสียหายรุนแรง ไม่สามารถซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ หรือเสียหายตั้งแต่ร้อยละ 70 ของมูลค่ารถในขณะเกิดความเสียหาย บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกันตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ท่านสามารถตรวจสอบและปรึกษากับเจ้าหน้าที่บริษัทประกันเพิ่มเติมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินความเสียหายและการชดเชย แต่ประกันภัยประเภทอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ชั้น 1 ) โดยมากไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ-ชดเชยความเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ชนกับยานพาหนะทางบก นอกจากนั้นบริษัทประกันภัยอาจเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้ดูแลทรัพย์สินนั้นๆ เพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วย
หากรถที่ไม่ได้มีทำประกันรถยนต์เอาไว้ อย่าลืมตรวจสอบความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ทั้งค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนที่พึงจะได้รับ โดยต้องมีการเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นเรื่องในภายหลัง เช่น ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีบาดเจ็บ, ใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ ในกรณีทุพพลภาพ, สำเนามรณบัตร (กรณีมีผู้เสียชีวิต), สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย
หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทำการ 09.00-17.30 น.
Read Next
เคลมสด-เคลมแห้งคืออะไร? ต่างกันยังไง?
/