ส่อง พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ อัปเดต 2567 และขั้นตอนการเคลม เชื่อเถอะ! ทำไว้ ถูกกฎหมาย สบายใจกว่า

15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 โดย
Administrator 2

ส่อง พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ อัปเดต 2567 และขั้นตอนการเคลม เชื่อเถอะ! ทำไว้ ถูกกฎหมาย สบายใจกว่า

          ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) นั้นเป็นพาหนะที่กลายมาส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันคนไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ไหนก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ ฯ เอง เพราะด้วยการจราจรที่ติดขัด พี่วินคือทางเลือกที่ช่วยชีวิตหลาย ๆ คนให้ทันเข้าประชุมหรือทันเที่ยวบินมานักต่อนักแล้ว 
          มอเตอร์ไซค์มีบทบาทสำคัญในชีวิตเราขนาดนี้ แน่นอนว่าเลี่ยงไม่ได้เช่นกันที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงทางการจราจรมีมากตามไปด้วย เพราะรูปแบบของตัวรถเองส่วนหนึ่ง และลักษณะการใช้งานที่ต้องใช้ความทรงตัวบนเครื่องแบบ 2 ล้อ น้ำหนักของเครื่องยนต์ที่ผู้ขับขี่ต้องประคอง รวมทั้งรูปแบบการขับขี่ เมื่อมีปัจจัยอื่น ๆ มากระทบ เช่น ฝนตกถนนลื่น มีสิ่งตัดหน้ารถกะทันหัน ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่ายครับ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมักเป็นปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เราสามารถบรรเทาความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ด้วยการทำประกันภัยนะครับผม และอย่างที่รู้กันว่าประกันภัยรถนั้นมีแบบภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. และภาคสมัครใจ ที่เราทำกับบริษัทประกันทั่วไปตามแต่ละประเภท ซึ่งวันนี้ “นินนิน” จะชวนมาส่องประกัน พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ ฉบับอัปเดต 2567 กันนะครับ เพราะว่าเจ้าประกันตัวนี้คือข้อบังคับทางกฎหมาย ถ้าไม่มี พ.ร.บ. = ทำผิดกฎหมาย และทำให้ต่อภาษีรถไม่ได้ด้วยนะ!

“มีรถ ต้องมี พ.ร.บ. และต้องต่อภาษี”


บทความที่เกี่ยวข้อง ร้ายแรงกว่าที่คิด มีรถใช้ แต่ไม่ต่อภาษี จะโดนอะไรบ้าง!?

มอไซค์ใจสู้ ซื้อประกันแถมหมวกกันน็อค

          ก่อนไปส่อง พ.ร.บ. ภาคบังคับ นินนินขอโฆษณาประกันรถมอเตอร์ไซค์ภาคสมัครใจ โปรโมชั่นใหม่ล่าสุดของ TTIB หน่อยนะคร้าบบบ นั่นก็คือ แผนประกัน “มอไซค์ใจสู้” นั่นเองครับผม

บทความที่เกี่ยวข้อง  “มอไซค์ใจสู้” แผนประกันรถมอเตอร์ไซค์ที่จริงใจ ประเภท 2+ รายปี
          ประกันภัย “มอไซค์ใจสู้” เป็นแผนความคุ้มครองรถจักรยานยนต์ประเภท 2+ แบบรายปี สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล ที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองเพิ่มเติมจากประกันภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. มีขึ้นเพื่อคุ้มครองความเสียหายกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้รถจักยานยนต์ ตามรายละเอียดและทุนประกันที่ตกลงกับบริษัทประกัน อีกทั้งร่วมรณรงค์จิตสำนึกของการ “ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย 100% อีกด้วย และจำกันให้ขึ้นใจกันเลยนะครับว่า “มีรถ ต้องมี พ.ร.บ. และต้องต่อภาษี” เพราะ พ.ร.บ. คือประกันภัยภาคบังคับ ที่มีไว้บริหารความเสี่ยงภัยด้านชีวิต ร่างกาย อนามัย แต่ไม่รวมความเสียหายต่อทรัพย์สิน (ความหมายก็คือ ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ นั่นเอง) ส่วนเรื่องการเสียภาษีเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งเราในฐานะเป็นผู้ใช้รถใช้ถนนก็ต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฎและข้อบังคับทางการจราจร 

          แต่หากต้องการซ่อมรถ หรืออาจจะมีค่าความเสียหายอื่น ๆ ของบุคคลภายนอก ที่เกิดจากอุบัติเหตุของเรา (เช่น เสาไฟฟ้าของทางหลวง รั้วบ้านของคนอื่น รถยนต์หรือทรัพย์สินของคนอื่น ฯลฯ) ต้องมีประกันภัยภาคสมัครใจติดไว้ด้วยนะครับผม

บทความที่เกี่ยวข้อง ทำไมควรมีประกันติดรถไว้ แค่พ.ร.บ.ไม่พอเหรอ? 

แล้ว พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ คุ้มครองอะไรบ้าง?
 คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยที่ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด (คุ้มครองทั้งคนขับและคนซ้อน)
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคน
 คุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ชดเชย 35,000 บาท ต่อคน

แล้วถ้าพิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. ยังคุ้มครองค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมอีกด้วยนะครับ
ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
 เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ (ชดเชยตามเกณฑ์ที่ระบุ)
หากมีการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

          คุ้มครองขนาดนี้ เบี้ย พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์จะเท่าไรกันนะ? ไม่ต้องกังวลเลยครับ เพราะ พ.ร.บ. ถูกออกแบบมาให้เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นค่าเบี้ยต้องเข้าถึงง่ายด้วยเช่นกัน
อ้างอิง บริษัทกลาง ฯ อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ปี 2567 ดังนี้ครับ


ราคาเบี้ยพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์

1. ประเภทรถ ส่วนบุคคล
จยย. ไม่เกิน 75 ซี.ซี. เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 161.57 บาท
จยย. เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 323.14 บาท
จยย. เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 430.14 บาท
จยย. เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 645.21 บาท
จยย. ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 323.14 บาท

2. ประเภทรถ รับจ้าง / ให้เช่า / สาธารณะ
จยย. ไม่เกิน 75 ซี.ซี. เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 161.57 บาท
จยย. เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 376.64 บาท
จยย. เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 430.14 บาท
จยย. เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 645.21 บาท
จยย. ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เบี้ย พ.ร.บ. อยู่ที่ 376.64 บาท


แจ้งเคลม พ.ร.บ.จักรยานต์ยนต์
เอกสารใช้แจ้งเคลม พ.ร.บ.จักรยานต์ยนต์ เคลมอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เอกสารหลัก (ยื่นเอกสารที่บริษัทประกัน ฯ ที่เราซื้อ พ.ร.บ. ภายใน 180 วันหลังเกิดเหตุ) 
สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
ใบแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมค่าสินไหมทดแทน กรณีที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก

เอกสารเพิ่มเติม กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย
ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

เอกสารเพิ่มเติม กรณีบาดเจ็บจนต้องนอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)
 ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
 ใบรับรองแพทย์ ระบุว่าจำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล

เอกสารเพิ่มเติม กรณีทุพพลภาพ
ใบรับรองแพทย์ ระบุการรักษา
หนังสือรับรองความพิการ
 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

เอกสารเพิ่มเติม กรณีเสียชีวิต
สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียชีวิต
 ใบมรณบัตร
สำเนาบัตรประชาชนทายาทหรือผู้รับมรดก
สำเนาทะเบียนบ้านทายาทหรือผู้รับมรดก
 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

เอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทประกัน ฯ
สำเนาทะเบียนรถ 
เอกสารบันทึกประวันตัวจริง 

          หากคุณกำลังง่วนอยู่กับเรื่องการทำประกันภัยรถยนต์ ต่อภาษี และต้องการความสะดวก นินนินขอแนะนำบริการต่อ พ.ร.บ., ต่อภาษี และทำประกันรถยนต์ จาก TT Insurance Broker เพราะ TTIB มีบริการรับทำทั้ง พ.ร.บ. และทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ นอกจากนี้ยังคอยดูแลและให้คำแนะนำประกันแผนที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละท่านอีกด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยรถยนต์ของเรา ที่ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official @TTIB, www.ttib.co.th หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น.
"TTIB ประกันดีต่อใจ บริการว่องไว ใส่ใจคุณ"
แชร์โพสต์นี้


Added to cart