ระวังเข้าใจผิด พ.ร.บ. ≠ ต่อภาษี ทำครบ เคารพกฎหมาย ได้ความคุ้มครอง

24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 โดย
Administrator 2

ระวังเข้าใจผิด พ.ร.บ. ≠ ต่อภาษี ทำครบ เคารพกฎหมาย ได้ความคุ้มครอง

          สกู๊ปรอบรู้เรื่องรถ จาก TT Insurance Broker วันนี้มาด้วยท็อปปิกที่คนขับรถทุกคนควรรู้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีผู้ขับขี่รถบางท่านไม่รู้หรืออาจละเลยไป อย่างเรื่องการทำ พ.ร.บ. และต่อภาษีรถ ที่ยังมีผู้ขาดการต่ออายุรายปีอยู่ในเปอร์เซ็นที่สูงทีเดียว และเมื่อละเลยแล้วส่งผลให้รถคันนั้น ๆ ผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว แถมเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองอีก ซึ่ง 2 สิ่งนี้มีเหตุผลในการดำเนินการและผลลัพธ์ต่อผู้ขับขี่ที่แตกต่างกันโดนสิ้นเชิง ไปติดตามเนื้อหาสำคัญ ๆ กันเลยว่าเจ้า พ.ร.บ. และเจ้าภาษี สำคัญยังไง ต้องใช้เอกสารในการต่อดำเนินการบ้าง เพื่อสร้างความเข้าใจทำให้เป็นเรื่องง่ายที่คุณอ๋อทันทีที่นึกถึง

car insurance compulsory ttib

          พ.ร.บ. คือ การประกันภัยรถภาคบังคับ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันภัย ซึ่งคุ้มครองทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ผู้เดินเท้า หากได้รับความเสียหายหรือการสูญเสียต่อชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยอื่น ๆ สิ่งที่เราได้รับเมื่อทำการต่อ พ.ร.บ. ประจำปี คือเอกสารกรมธรรม์หลังจากทำพ.ร.บ. รถ (หลายคนชอบเข้าใจผิดว่า พ.ร.บ. คือ ป้ายที่ติดหน้ากระจกรถยนต์ หรือที่ม้วนติดกับท้ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งก็คือเครื่องหมายการเสียภาษี) หากเราไม่ต่อ พ.ร.บ. จะถือว่าผิดกฎหมายและมีค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท

วิธีดูวันหมดอายุ : ในกรมธรรม์จะมีระยุเอาไว้ในหัวข้อ ระยะเวลาเอาประกันภัย โดยระบุวันที่เริ่มต้น และวันที่รวมถึงเวลาสิ้นสุดประกันภัย เช่น ‘ระยะเวลาประกันภัย : เริ่มต้นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.30 น.’ หมายความว่าประกันหมดอายุ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.30 น. จึงควรดำเนินการทำล่วงเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองต่อเนื่อง โดยสามารถต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วันก่อน พ.ร.บ. หมดอายุ

ต่อ พ.ร.บ. ได้ที่ไหน  
1. บริษัทประกันภัย
2. นายหน้าประกันภัย หรือ โบรกเกอร์
3. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ระหว่างต่อภาษีรถยนต์ (ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก)
4. ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ. 
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. เล่มทะเบียนรถ

car insurance compulsory ttib

          ต่อภาษี หรือต่อทะเบียนรถ คือ การจ่ายภาษีประเภทหนึ่งให้กับรัฐเพื่อนำไปสนับสนุนงานด้านการคมนาคม เช่น การพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ การปรับปรุงเส้นทางจราจร โดยรถทุกคันจะต้องจดทะเบียนถูกต้องและต้องมีการชำระภาษีประจำปีทุกปี หากขาดต่อ 1-3 ปี อาจต้องเสียค่าปรับเมื่อถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเสียค่าปรับกับกรมขนส่ง 1% ต่อเดือน และในกรณีที่ขาดต่อเกิน 3 ปี ทำให้ทะเบียนรถถูกระงับทันที ต้องไปทำเรื่องจดทะเบียนใหม่ สิ่งที่เราจะได้รับหลังต่อภาษีคือป้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม (หรือที่เรียกว่าป้ายวงกลม) เป็นเครื่องหมายการเสียภาษีที่บ่งบอกว่ารถคันนั้น ๆ มีการเสียภาษีประจำปีเรียบร้อย

car insurance compulsory ttib

วิธีดูวันหมดอายุ : ดูได้ที่ป้ายที่ติดหน้ารถได้เลย จะเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ‘วันสิ้นอายุ’ โดยสามารถชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน

ต่อภาษีได้ที่ไหน 
จุดบริการ
1. สำนักงานขนส่ง 
2. ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5
3. ที่ทำการไปรษณีย์
4. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ 
5. ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
6. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
7. ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน

ช่องทางออนไลน์
1. ต่อภาษีผ่าน เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก 
2. ต่อภาษีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax, mPay และ Truemoney Wallet

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษี
1. เล่มทะเบียนรถ
2. เอกสาร พ.ร.บ.
3. ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ 5 ปีขึ้นไป)

          น่าจะพอเข้าใจคอนเซ็ปท์ของ ทั้ง พ.ร.บ. และ ภาษีกันบ้างแล้วใช่ไหมครับ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันอยู่ตรงที่ เจ้าของรถต้องต่อ พ.ร.บ. รถให้เรียบร้อยก่อนเพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ไปต่อภาษีประจำปีเสมอครับ เรื่อง พ.ร.บ. และภาษีรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้รถใช้ถนนยังขาดการตระหนักอยู่อีกจำนวนมาก ทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประกันภัยไม่นิ่งนอนใจในการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อย่าง ล่าสุด 16 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คปภ. ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรม ‘คปภ. ปลุกพลังนักบิด คุ้มครองอย่างห่วงใย ด้วยประกันภัย พ.ร.บ.’ ในพื้นที่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี เพื่อรณรงค์ให้ผู้ขับขี่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ในพื้นที่จราจรหนาแน่นได้รับความคุ้มครองพื้นฐานจากประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งทาง TT Insurance Broker ได้ร่วมออกบู้ธประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และความสนุกสนานแก่ผู้ร่วมงานในครั้งนี้ด้วย เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันในการให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสำคัญและทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงความเข้าใจด้านการต่อภาษีรถด้วย


car insurance compulsory ttib
          หากคุณกำลังง่วนอยู่กับเรื่องการทำประกันภัยรถยนต์ ต่อภาษี และต้องการความสะดวก นินนินขอแนะนำบริการต่อ พ.ร.บ., ต่อภาษี และทำประกันรถยนต์ จาก TT Insurance Broker มีเจ้าหน้าที่บริการในช่องทางออนไลน์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยรถยนต์ของเรา ที่ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official @TTIB, www.ttib.co.th หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น.

                             TTIB ประกันดีต่อใจ บริการว่องไว ใส่ใจคุณ

ที่มา :
https://eservice.dlt.go.th
https://portal.info.go.th

Start writing here...

แชร์โพสต์นี้

To install this Web App in your iPhone/iPad press and then Add to Home Screen.

Added to cart