อยากรอดต้องรู้! เหตุเพลิงไหม้เครื่องบินขณะลงจอด อพยพหนีทันภายใน 90 วินาที รอดชีวิตทั้งหมด
ขอแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียจากเหตุการณ์เครื่องบินโดยสาร A350 ของสายการบิน JAPAN AIRLINE (JAL) เที่ยวบินที่ JAL516 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุชนกับเครื่องบินเล็กของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นบนรันเวย์ของสนามบินฮาเนดะ ใกล้กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นเดือมกราคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เครื่องบินทั้งสองลำเกิดเพลิงลุกไหม้ ผู้โดยสารบนเครื่องบินหน่วยยามฝั่งเสียชีวิต 5 ราย ในขณะที่นักบินบาดเจ็บสาหัส ส่วนเครื่องบินโดยสารของ JAL ซึ่งมีผู้โดยสารและลูกเรือ 379 ชีวิต สามารถอพยพได้ทันภายใน 90 วินาที ทั้งที่ประตูฉุกเฉินบางบานไม่สามารถใช้งานได้ รอดชีวิตทั้งหมด
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ประชาชนทั่วโลกและผู้เชี่ยวชาญต่างวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้การอพยพที่ดูเหมือนเป็น Mission Impossible นี้สำเร็จ ซึ่งคีย์เวิร์ดสำคัญก็คือ ลูกเรือสายการบิน และผู้โดยสารทั้งหมดที่ปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยอย่างทันท่วงที มีสติทำตามขั้นตอน แม้กระทั่งตอนสไลด์ลงจากเครื่องบินที่ตัวเครื่องกำลังลุกไหม้อย่างหนัก ก็ทำได้รวดเร็วเพราะไม่มีผู้โดยสารท่านใดนำกระเป๋าสัมภาระติดตัวมาเลย ทำให้ทั้งหมดรอดชีวิตมาได้อย่างปลอดภัย
‘นินนิน’ เลยจะชวนมาย้ำเตือนเรื่อง การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยบนเครื่องบิน กันอีกครั้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้โดยสารเครื่องบินแบบครั้ง ๆ คราว ๆ อย่างเรา ๆ ได้ย้ำเตือนความจำ และนำไปใช้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเมื่อต้องเดินทางครับ
1. การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ เมื่อเครื่องบินกำลังบินขึ้น หรือลงจอด
เมื่อเครื่องบินกำลังจะบินขึ้น หรือลงจอด ถือเป็นสาถานการณ์ที่เราควรต้องระมัดระวังความปลอดภัยขั้นสูงสุด เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อาจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นได้ เมื่อกัปตันประกาศช่วงเวลาดังกล่าว ผู้โดยสารควรเตรียมตัวให้พร้อม ปฏิบัติตามคำแนะนำของลูกเรือ โดยเฉพาะ
- คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาเมื่อนั่งอยู่กับที่ (เพราะเราไม่รู้ว่าเครื่องจะกระแทกหลุมอากาศเมื่อไร)
- เปิดหน้าต่างจนสุด (เพื่อที่จะเห็นสิ่งปกติที่นอกตัวเครื่องอย่างชัดเจน และเตรียมตัวทัน)
- พับเก็บถาดรองที่หน้าพนักที่นั่ง เพื่อที่จะได้ไม่กีดขวางความคล่องตัว
- ไม่วางสัมภาระไว้บนตัก หรือที่จะขัดขวางเส้นทาง หากเกิดการต้องอพยพ
- ปิดการใช้งาน หรือปรับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ให้อยู่ในโหมดเครื่องบิน (Flight Mode)
- งดใช้น้องน้ำ
2. สังเกตตำแหน่งการนั่ง ว่าเราอยู่ตรงแถว Emergency Exit ประตูทางออกฉุกเฉิน หรือไม่
เนื่องจากผู้โดยสารที่นั่งในแถวทางออกฉุกเฉินจะต้องช่วยเหลือลูกเรือในกรณีที่มีการอพยพฉุกเฉิน โดยลูกเรือจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำ ดังนั้น คนที่นั่งแถวนี้ต้องรู้ว่ามีประตูฉุกเฉินกี่บาน อยู่ตรงไหน เปิดอย่างไร (ซึ่งเครื่องบินแต่ละรุ่นจะมีจำนวนประตูทางออกฉุกเฉินไม่เท่ากัน) หากว่าเราได้ที่นั่งบริเวณนี้ (บางคนมองว่าโชคดี เพราะพื้นที่จะกว้างกว่าบริเวณอื่น แต่ก็มาพร้อมความรับผิดชอบนี้ด้วย) ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจการใช้งาน และสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของลูกเรือได้ ตัวอย่างข้อปฏิบัติเบื้องต้น เช่น
- ห้ามไม่ให้ผู้โดยสารท่านอื่นอยู่ใกล้ประตูทางออกฉุกเฉิน จนกว่าลูกเรือจะเปิดประตูเสร็จ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำ โดยเปิดประตูทางออกฉุกเฉินหลังจากได้รับการยืนยันความปลอดภัยภายนอกตัวเครื่องบินแล้วเท่านั้น
- เมื่ออพยพออกจากตัวเครื่องแล้ว ให้ช่วยเหลือผู้โดยสารท่านอื่น โดยเราจะต้องยืนอยู่ทั้งสองฝั่งของสไลด์ และช่วยผู้โดยสารท่านอื่นให้สไลด์ลงจากเครื่องด้วยการประคองแขนของผู้โดยสารท่านนั้น ๆ
- หรือคำแนะนำอื่น ๆ ตามที่ลูกเรือเห็นสมควรกับสถานการณ์
รู้หรือไม่ ว่าเราอาจถูกปฏิเสธที่นั่งในแถวทางออกฉุกเฉินได้ หากสายการบินประเมินแล้วว่าเราไม่อยู่ในสภาวะที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือไม่เห็นด้วยที่จะทำตามที่ระบุไว้ข้างต้นได้
3. Safety Instruction Card คู่มือความปลอดภัย อ่านให้เข้าใจก่อนดีกว่า
เพราะอุบัติเหตุคือเหตุการณ์ไม่คาดคิด ผู้โดยสารทุกคนบนเที่ยวบินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจคู่มือความปลอดภัยอย่างอย่างละเอียด อ่านก่อนแล้วค่อยนอนอย่างสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของ
- หน้ากากออกซิเจน Oxygen Mask ที่จะตกลงมาจากเพดาน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศภายในห้องโดยสาร
- เสื้อชูชีพ Life Vest ซึ่งจะอยู่ใต้ที่นั่งของผู้โดยสารทุกที่นั่ง เป็นแบบที่ผู้ใหญ่และเด็กสามารถใช้ร่วมกันได้ (แต่แยกสำหรับทารก) ใช้เมื่อเครื่องลงฉุกเฉินบนน้ำ บนเสื้อจะมีไฟฉุกเฉินและนกหวีด เพื่อเรียกขอความช่วยเหลือ
อย่าหาทำ การนำเสื้อชูชีพลงจากเครื่องบินโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีความผิดตามกฏหมายหลายกระทงนะครับ ทั้งลักทรัพย์และกฎการบิน สายการบินแจ้งความผู้โดยสารได้ หนักสุดก็อาจโดนห้ามขึ้นเครื่องตลอดชีวิต
4. มีสติ และทำตามคำแนะนำของลูกเรืออย่างเคร่งครัด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ 379 ชีวิตบนเที่ยวบิน JAL516 อพยพออกมาได้หมด แม้ว่าจะสถานการณ์จะบีบคั้นมาก ๆ (ทางออกฉุกเฉินเหลือแค่ 3 ทาง จาก 8 ทาง ระบบกระจายเสียงใช้งานไม่ได้ต้องใช้โทรโข่งและการตะโกน ฯลฯ) คือ สติ และความมีวินัยของผู้โดยสารทุกคนที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของลูกเรืออย่างเคร่งครัด เพราะถ้ามีผู้โดยสารแม้แต่คนใดคนหนึ่งไม่ทำตาม เหตุการณ์ทั้งหมดก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นสถานการณ์ที่แย่กว่านี้ก็เป็นได้ คำแนะนำหลัก ๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์อพยพ เช่น
- การทิ้งสัมภาระทั้งหมดไว้บนเครื่อง เพราะอาจเป็นอุปสรรคในการอพยพหรือสร้างความเสียหายให้กับสไลด์ และทำให้สไลด์ใช้งานไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้โดยสารต้องทิ้งสัมภาระทั้งหมดไว้ รวมทั้งต้องถอดรองเท้าส้นสูง เพราะอาจทำให้สไลด์เสียหายและใช้งานไม่ได้เช่นกัน
- งดถ่ายภาพและวิดีโอ เนื่องจากจะทำให้การอพยพของท่านล่าช้าและกีดขวางผู้อื่น
- ทันทีที่ลงถึงพื้น ต้องหนีออกจากเครื่องบินให้ไกลที่สุด และแจ้งแก่ผู้โดยสารอื่นให้ออกห่างจากเครื่องบินโดยทันทีด้วย
ความเสี่ยงในเหตุการณ์อุบัติเหตุระหว่างการเดินทางเช่นนี้ ทางประกันภัยเองก็มีความคุ้มครองรองรับครับ เช่น ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่คุ้มครองกรณีเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้เกิดความบาดเจ็บต่อร่างกาย ก็จะได้รับความคุ้มครองทั้งในด้านการรักษาพยาบาล หรือกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตก็จะได้รับการชดเชย หรือสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปต่างประเทศ ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ จะมีความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุร่วมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามมีเงื่อนไขความคุ้มครองอยู่หลายข้อด้วยกัน เช่น ผู้เอาประกันต้องไม่อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุราหรือสารเสพติดจนไม่สามารถประคองสติได้ สาเหตุสืบเนื่องมาจากการจลาจล การสงคราม ฯลฯ โดยสามารถศึกษาข้อมูลหรือสอบถามเจ้าหน้าที่ประกัน สำหรับความคุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองต่าง ๆ ได้เพิ่มเติม
หากมีความสนใจเกี่ยวกับการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล รวมถึงประกันเดินทางต่างประเทศ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเรา TT Insurance Broker ช่องทางการติดต่อ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official @TTIB, หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น.
ที่มา: REUTERS, All Nippon Airways, Peach Air Japan, Japan Airline