รับมือ ‘เที่ยวบินดีเลย์’ ให้ได้รับการชดเชย
เตรียมเข้าสู่ 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้แล้ว หลายอาจจะเริ่มเตรียมแพลนท่องเที่ยวช่วงปลายปีหรือปีใหม่ที่จะมาถึงนี้อย่างรัดกุมมากขึ้น ทั้งตั๋วเครื่องบิน บุ๊คห้องพัก แพลนสถานที่เช็คอิน และจิปาถะอีกมากมาย แต่เรื่องที่จะพลาดไม่ได้เลยสำหรับนักเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางในต่างแดน คือการรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง สำหรับสกู๊ป ‘นินนินพากินพาเที่ยว’ วันนี้ นำประเด็นสำคัญเป็นเรื่องต้น ๆ อย่างเหตุการณ์ ‘เที่ยวบินดีเลย์ ’ มาเป็นข้อมูลให้เตรียมรับมือ ด้วยคำถามยอดฮิตว่าต้องทำยังไงถึงจะได้รับการชดเชย แล้วใครกันนะจะชดเชยให้กับเราได้ในเหตุการณ์นี้ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยครับ
เครื่องบินดีเลย์ คือ เหตุการณ์ที่สายการบินมีความล่าช้ากว่ากำหนดการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ ปัจจัยอันดับต้นที่ทำให้สายการบิน หรือเครื่องบินทั่วโลกดีเลย์ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมกับการบินนั้นทำให้เครื่องไม่สามารถบินได้ หรือเที่ยวบินก่อนหน้าไม่สามารถจอดได้ เช่น ฝนตกหนัก พายุ หมอกหนา ฯลฯ เป็นเหตุให้เที่ยวบินต้องเลื่อนเวลาในการบินออกไป นอกจากนั้นอาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ปัญหาทางเทคนิคของสายการบิน ปัญหาสุขภาพการเจ็บป่วยฉุกเฉินของลูกเรือ หรือผู้โดยสาร, ปัญหาการจัดการการบิน หรืออื่น ๆ
ผลกระทบต่อผู้โดยสาร หรือนักเดินทางอย่างเรา ๆ ก็คือแผนการเดินทางที่ถูกเลื่อนออกตามไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ หากมีการจองที่พัก จองรถ จองตั๋วเข้าชมต่าง ๆ เอาไว้แล้วละก็ นอกจากเสียเวลาแล้วยังก่อให้เกิดผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา ทั้งที่จ่ายไปแล้ว และจ่ายเพิ่ม เช่น หากดีเลย์จนต้องค้างคืน ต้องเปิดที่พัก หรือเสียค่าเดินทางเพิ่ม ซึ่งสามารถพบได้ทั้งบินตรงและการเปลี่ยนเครื่องก่อนจะไปต่อยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งเราในฐานะผู้ใช้บริการจะได้รับการชดเชยจากสายการบินนั้น ๆ ครับ
การชดเชยที่เราจะได้รับ ทางสายการบินแต่ละที่ก็จะมีแนวทางในการชดเชย หรือเยียวยาให้แก่ผู้โดยสารตามแตกต่างกันออกไป ผู้โดยสารสามารถเช็คได้ที่เคาน์เตอร์ของสายการบิน หรือโทรสอบถามจากศูนย์บริการลูกค้าเพื่อทราบการชดเชยที่จะได้รับ โดยมากแล้วการชดเชยจะสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เครื่องบินหรือเที่ยวบินดีเลย์ และครอบคลุมตามความจำเป็นเบื้องต้น อาทิ
- จัดหาอาหาร หรือเครื่องดื่ม หากเครื่องบินดีเลย์มากกว่า 2 ชั่วโมง
- การคืนเงินค่าตั๋วโดยสารเต็มจำนวน
- กรณีที่ผู้โดยสารเปลี่ยนไปสายการบินอื่นเพื่อไปยังจุดหมายเดิมในวันนั้น ๆ สายการบินอาจจ่ายส่วนต่างค่าตั๋วโดยสารที่แพงกว่า หรือการคืนเงินค่าตั๋วโดยสารกรณีตั๋วโดยสารใหม่ถูกกว่าเดิม
- การชดเชยเป็นเงินสดเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางต่อไปได้ไปยังจุดหมายเดิมในวันนั้น ๆ
- การจัดหาที่พักโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือชดเชยค่าที่พักให้แก่ผู้โดยสาร
- การชดเชยค่าโดยสารจากสนามบินไปยังที่พัก
หากใครเป็นกังวลระหว่างการเดินทางโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจากสายการบิน เช่น เรื่องไฟลท์ดีเลย์ กระเป๋าชำรุดหรือสูญหาย ฯลฯ สามารถศึกษาแผนประกันและซื้อประกันเดินทางที่พ่วงกับสายการบินไว้เพิ่มเติมได้จากความคุ้มครองปกติที่สายการบินควรชดเชยให้ผู้โดยสารอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางบ่อย ๆ ทราบกันดีอยู่แล้วว่าควรมีประกันภัยการเดินทางติดตัวเอาไว้เสมอ เพราะเหตุไม่คาดคิดระหว่างการเดินทางมีอีกหลายประเด็นด้วยกัน อาทิ อุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและต้องเข้ารักษาตัวขณะอยู่ต่างประเทศ ความคุ้มครองเหล่านี้อาจไม่พบหรือทุนคุ้มครองไม่สูงในประกันเดินทางที่พ่วงกับสายการบิน จึงแนะนำว่าควรมีประกันเดินทางที่ซื้อแยกกันเข้ามาด้วย แนะนำประกันเดินทางจากต่างประเทศจาก MSIG