ประกันภัยร้านอาหาร-ธุรกิจ SME ที่เจ้าของกิจการไม่ควรละเลย

17 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 โดย

ประกันภัยร้านอาหาร-ธุรกิจ SME ที่เจ้าของกิจการไม่ควรละเลย

เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจอีกครั้ง สำหรับเหตุไฟไหม้ผับที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 14 ราย และบาดเจ็บจากการโดนไฟคลอกจำนวนมาก โดยสื่อมวลชนได้เผยถึงการลงพื้นที่และตรวจสอบด้านการทำประกันภัยจากสำนักงาน คปภ. จังหวัดชลบุรี เบื้องต้นพบว่า สถานบริการดังกล่าวไม่ได้มีการทำประกันภัยไว้ อีกบทเรียนสำคัญให้กับธุรกิจ ร้านต่างๆ ว่าไม่ควรมองข้ามเรื่องประกันภัยซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และควรทำประกันภัยไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
“น้องนินนิน” เชื่อว่าการป้องกันไว้ก่อนมีผลลัพธ์ที่ดีกว่าการต้องแก้ไขหรือรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ และประกันภัยมีข้อดีในการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตรงนี้ครับ และวันนี้น้องนินขอนำเสนอข้อมูลที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบธุรกิจด้านการให้บริการต่างๆ ครับ กับข้อมูลเรื่อง ‘ประกันภัยธุรกิจและโรงงานขนาดย่อม หรือ ประกันภัย SME’ ครับ


การทำประกันภัยสำหรับกิจการต่างๆ ต้องมีการยื่นคำขอการทำประกันภัย มีเรื่องประเมินความเสี่ยง ตั้งแต่ วัตถุประสงค์ของการใช้สถานที่นั้น ๆ , ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง, ที่ตั้ง, รวมไปถึงปัจจัยประกอบอื่นๆ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและทุนประกันที่เหมาะสมกับกิจการนั้นครับ คลิกเพื่อปรึกษาเจ้าหน้าที่

ประกันธุรกิจเล็ก

นอกจากนั้น ตอนนี้บริษัทประกันภัยได้มีการออกแบบแพ็คเกจประกันภัยสำหรับ SME แบบพร้อมซื้อได้ง่ายๆ ออกมาด้วยครับ โดยให้บริการครอบคลุมธุรกิจ 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. ร้านค้า และเสริมสวย เช่น ร้านขายดอกไม้สด, ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต-มินิมาร์ท-ร้านของชำ, ร้านขายอาหารแช่แข็ง, ร้านขายผักและผลไม้, ร้านขายของเล่น, ร้านทำเล็บ, โรงแรม, ร้านขายประดับยนต์ ฯลฯ
2. ร้านอาหาร และ เครื่องดื่ม เช่น ร้านอาหาร, ร้านขายเครื่องดื่ม, ร้านกาแฟ, ร้านเบเกอรี่, ร้านขายขนมหวาน ฯลฯ
3. ธุรกิจบริการ เช่น คลินิกเวชกรรม, คนินิกทันตกรรม, คลินิกเสริมความงาม, อพาร์ทเม้นต์, ฟิตเนสเซ็นเตอร์, สำนักงานบัญชี ฯลฯ
4. โรงงานขนาดย่อม เช่น โรงพิมพ์, โรงงานทำสบู่, โรงงานทำน้ำดื่ม, โรงงานทำลูกชิ้น ไส้กรอก, โรงงานทำขนมปัง ฯลฯ

แต่ละธุรกิจก็จะมีค่าเบี้ยประกันภัยแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่างกันครับ เจ้าของกิจการสามารถเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ โดยเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียงหลักพันบาท (2,xxx+ บาท) และเริ่มต้นที่เงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ถือว่าอยู่ในเรทที่เจ้าของธุรกิจสามารถพิจารณาได้ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะครับ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เข้าใจถึงรายละเอียดความคุ้มครอง หรือเงื่อนไขต่างๆ ท่านสามารถรับคำปรึกษาได้ฟรีกับเจ้าหน้าที่เลยครับ คลิกเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่
 ประกันธุรกิจเล็ก


ความคุ้มครองสำหรับ ‘ประกันภัยธุรกิจ และโรงงานขนาดย่อม’
ความคุ้มครองหลัก
1) ความสูญเสีย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันมีสาเหตุโดยตรงมาจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยการเฉี่ยวและหรือการชนของยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม) ภัยจากควัน ภัยไฟป่า และภัยจากอุบัติเหตุอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากสาเหตุจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (พร้อมสรรพธุรกิจอุตสาหกรรม) ตามที่ระบุวงเงินคุ้มครองตามจำนวนเงินเอาประกันภัย
2) ภัยน้ำท่วม หมายเหตุ : หากผู้เอาประกันภัยต้องการ ซื้อความคุ้มครองมากกว่า 10,000 บาท ต้องมีพิจารณาเป็นรายๆ ไป
3) ภัยแผ่นดินไหว ลมพายุ ภัยลูกเห็บ
ความคุ้มครองพิเศษ
1) การประกันประกันภัยโจรกรรม: ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เก็บอยู่ภายในอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงค่าซ่อมแชมตัวอาคารที่เสียหายจากการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยการงัดแงะ
2) การประกันประกันภัยโจรกรรม (จร.2): ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ที่เก็บอยู่ภายในอาคารสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงค่าซ่อมแชมตัวอาคารที่เสียหายจากการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
3) การประกันภัยต่อเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า: อันเกิดจากการเดินเครื่องเดินกำลัง การเดินลัดวงจรของไฟฟ้า การเผาไหม้ของสายไฟฟ้าในตัวเอง การรั่วของกระแสไฟฟ้า หรือการเตินลัตวงจรของไฟฟ้เนื่องจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม

ประกันธุรกิจเล็ก

4) การประกันภัยเครื่องจักร 
- คุ้มครองเครื่องจักรที่ตั้งอยู่ในสถานที่เอาประกันภัย จากความเสียหายอันเกิดจากระบบ
กลไกขัดข้องที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันและไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้
- คุ้มครองความเสียหายของสต็อกที่เก็บไว้ในห้องเย็นหรือตู้แช่แข็ง ที่คุ้มครองตามเงื่อนไขข้อที่ 4
5) การประกันภัยกระจก: คุ้มครองความเสียหายต่อกระจกที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร อันเกิดจากอุบัติเหตุใด ๆ จนทำให้แตก หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้
7) การประกันภัยเครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์: ยกเว้น โทรศัพท์มือถือ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ลักทรัพย์ ในสถานที่เอาประกันภัย
8) การประกันภัยป้ายโฆษณาและป้ายนีออนที่ยึดติดถาวร: คุ้มครอง การแตกหักหรือเสียหายจากอุบัติเหตุซึ่งเกิดจากเหตุภายนอก อัคคีภัย ฟ้าผ่า ระเบิด และลักทรัพย์ และรวมถึงความรับผิด ตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกตามเงื่อนไขของประกันภัยป้ายโฆษณา
9) การประกันภัยเงินทดแทนสูญเสียรายได้: คุ้มครองเงินทดแทนการสูญเสียรายได้ ในกรณีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้รับความสูญเสีย หรือเสียหายจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองหลัก
10) การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก: คุ้มครองการเสียชีวิต ความบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือความเจ็บป่วยของบุคคลภายนอก รวมทั้งความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นภายในอาคาร หรือเกิดจากการใช้อาคารนั้น
11) การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (อบ.1): สำหรับผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างสูงสุด จำนวน 3 คน (ต้องระบุชื่อก่อนทำประกันภัย) คุ้มครองการเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเท่านั้นของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างจากอุบัติเหตุ (อายุ15-70 ปี) ภายในอาณาเขตประเทศไทย
12) การประกันภัยความรับผิดของนายจ้าง คุ้มครองค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการติดตามความสูญเสีย หรือเสียหายจากการรั่วไหลของข้อมูล จากการถูกโจรกรรมผ่านการติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ประกันธุรกิจเล็ก

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าน่าจะพอเห็นความคุ้มครองของประกันภัยสำหรับธุรกิจ ว่าครอบคลุมต่อความเสี่ยงหลายด้านมากๆ ครับ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องความคุ้มครองหรือเงื่อนไขการทำประกันภัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยของ TT Insurance Broker ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ช่องทางการติดต่อ Facebook page: TT Insurance Broker, Line official @TTIB, www.ttib.co.th หรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-4848 วันจันทร์-ศุกร์ในเวลาทำการ 08.30-17.00 น. หรือให้ข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ที่นี่ครับ ระบุข้อความ ‘ประกันภัย SME’

*การทำประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และความคุ้มครองของบริษัทประกัน*
#ไฟไหม้ผับชลบุรี #ไฟไหม้ #ประกันไฟไหม้ #TTIB #TTIBประกันดีต่อใจ

อ้างอิงข่าว:
www.thairath.co.th

แชร์โพสต์นี้

To install this Web App in your iPhone/iPad press and then Add to Home Screen.

Added to cart